3 ความผิดพลาดที่นักลงทุนมองข้ามไปเมื่อทำการเก็บและดูแลคริปโต - แจกเหรียน DigiByte ฟรี

Breaking

Home Top Ad

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

3 ความผิดพลาดที่นักลงทุนมองข้ามไปเมื่อทำการเก็บและดูแลคริปโต


การลงทุนคริปโตนั้นมีความแตกต่างจากการลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ ตรงที่มัน ยังไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมเป็นแพร่หลายมากเท่าไรนัก เพราะนั้นการดูแลสินทรัพย์ที่ไปลงทุนมาโดยส่วนใหญ่แล้ว นักลงทุนต้องจะเป็นผู้จัดการและรับผิดชอบเอง กล่าวคือ ถ้าเกิดคริปโตสูญหายไปนั้นไม่ว่าจะกรณีใดๆก็ตาม มันก็จะเป็นเรื่องยากที่จะนำมันกลับคืนมาได้ ซึ่งนักลงทุนส่วนมากมัก จะไม่ทราบถึงประเด็นนี้ และมักจะสนใจแค่ว่า การลงทุนเหรียญไหนจะทำให้พวกเขานั้นได้กำไรมากที่สุด ความพยายามเหล่านั้นอาจไร้ประโยชน์ได้ ถ้าหากไม่รู้จักวิธีการเก็บรักษาคริปโตที่อุตส่าห์หามาได้อย่างยากเย็นให้เป็น

ในบทความนี้จะทำการอธิบายถึงความผิดพลาด 3 อันดับแรก ๆ ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ชอบมองข้ามไปในเมื่อตอนที่พวกเขาจะเก็บคริปโตให้ปลอดภัยกัน



1.คิดว่าเว็บเทรดคริปโตนั้นเป็นธนาคาร นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะใช้เว็บเทรดคริปโตเป็นที่เก็บคริปโตสกุลต่าง ๆ ของพวกเขาที่ซื้อมา เนื่องจากความสะดวกและสบายในการย้ายไปเทรดในเว็บอื่น ๆ ต่อนั้น หรือการสามารถเทขายได้ทันทีหากต้องการขาย แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว เว็บเทรดคริปโตนั้น ไม่ได้ถูกออกแบบไว้สำหรับการเก็บคริปโตเลยซะทีเดียว

ในประวัติศาสตร์ของวงการคริปโตหลายปีที่ผ่านมา มีเว็บเทรดคริปโตมากมายได้ถูกแฮ็ก ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2014 เว็บเทรดคริปโตที่ใหญ่ที่สุดในตอนนั้น Mt.Gox ล้มละลายหลังถูกแฮ็กไปเสียหายหลายกว่า 450 ล้านดอลลาร์ หรือในปี 2018 ที่เว็บเทรดคริปโตนาม Coincheck ถูกแฮ็กเสียหายไปมากกว่า 530 ล้านดอลลาร์ เป็นต้น

จากเหตุการณ์เหล่านั้น จะสังเกตุได้ว่า เว็บเทรดที่ดู  น่าเชื่อถือ นั้นไม่ได้แปลว่าจะไม่สามารถที่จะถูกแฮ็กได้ ถ้าให้พูดกันตามจริง ระดับความปลอดภัยของธนาคารเทียบเว็บเทรดคริปโตนั้นย่อมมีความต่างกันอยู่แล้ว การที่เราคิดว่าสามารถฝากคริปโตไว้ได้นั้นเป็นเรื่องผิดอย่างมหันต์ เลย



2.ไม่ได้ทำการบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ  การลงทุนคริปโตนั้นก็ถือเป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่งที่เราควรจะต้องมีการจดรายละเอียดต่าง ๆ ลงไป อาทิเช่นเงินทุน, เก็บไว้ที่ไหน, Password อะไร, ซื้อวันไหน, ซื้อจำนวนเท่าไร, ซื้อที่ไหน และอื่น ๆ อีกมากมาย

ถ้าหากนักลงทุนคนไหนยังไม่ได้ทำการบันทึกรายละเอียดต่าง ๆนั้น ก็ควรจะรีบทำตั้งแต่วันนี้เลย เพราะว่า เราจะได้สามารถรับรู้ได้ว่าในปัจจุบันนั้น เราได้กำไรแล้วหรือว่ากำลังขาดทุนอยู่ในเวลานั้น และที่สำคัญรายละเอียดเหล่านี้ จะมีความจำเป็นขึ้นมาได้ในตอนที่ต้องยื่นภาษี

ถึงแม้ในปัจจุบันนั้น นักลงทุนชาวไทยจะยังไม่ต้องจ่ายภาษีเวลาได้กำไรจากคริปโต แต่เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา ประเทศไทยก็ได้มีการบังคับใช้กฎหมายเรียบร้อยแล้วว่าจะมี Capital Gain 15 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นแล้ว หากใครจดรายละเอียดไว้ครบถ้วน ก็อาจนำไปแจ้งได้ว่าเรามีรายละเอียดแบบนี้ทำให้เสียภาษีได้แม่นยำมากขึ้น ครับ



3.ยังไม่ได้ใช้ Hardware Wallet ถ้าหากคุณคือนักลงทุนคนหนึ่งที่คิดว่า จะลงทุนกับคริปโตในระยะยาวนั้น แนะนำเป็นอย่างยิ่งให้ซื้อ Hardware Wallet เก็บไว้ ไม่ว่าจะยี่ห้อไหนก็ได้ ข้อดีของ Hardware Wallet นั้นมีมากมายเลย เช่น มีความปลอดภัยมากกว่าเก็บไว้ในเว็บเทรดคริปโต เนื่องจากไม่ได้ตกเป็นเป้าของกลุ่มแฮ็กเกอร์ เพราะมีเงินอยู่ก้อนเดียว ต่างกับ Hot Wallet ของเว็บเทรดนั้นที่เก็บเงินไว้จำนวนมาก ๆ  มีความปลอดภัยหลายขั้นตอนกว่าเว็บเทรดคริปโต และอื่น ๆ อีกมากมาย

ถึงแม้ Hardware Wallet รุ่นแรก ๆ นั้นจะยังไม่ค่อยมีความสะดวกอะไรมากนัก แต่รุ่นหลัง ๆนั้น ที่เริ่มออกมาใหม่ ก็เริ่มมีข้อดีที่เกือบเทียบเท่าเว็บเทรดมากขึ้นเช่นกัน สามารถใช้งานในมือถือได้ด้วย และสามารถซื้อขายคริปโตได้ในตัว Wallet เลยเป็นต้น เช่นกัน

Hardware Wallet ส่วนใหญ่ที่หลาย ๆ คนใช้งานก็จะมี 2 ยี่ห้อหลัก ๆ ก็คือของ Trezor และ Ledger ซึ่งราคาไม่แพงไม่กี่พันเท่านั้น แล้วแต่ว่าต้องการความ Premium มากขนาดไหน ซึ่งการลงทุนกับเงินไม่กี่พันนี้เพื่อจะเก็บคริปโตจะคุ้มค่ากว่าการไปรอลุ้นว่าจะถูกหรือไม่แน่นอน

สรุป
การเก็บคริปโตให้ปลอดภัยนั้นไม่ได้ง่าย, ไม่ได้ยาก และไม่ได้แพงอย่างที่หลาย ๆ คนคิด ควรแยกแยะให้ออกว่าเว็บเทรดคริปโตนั้นไม่ได้มีไว้เพื่อเก็บคริปโต แต่มีไว้เพื่อ “เทรด” และทำการ “นำเงิน Fiat เข้าและออก” เท่านั้น ควรจะเก็บคริปโตไว้บนนั้นเท่าที่จะใช้เทรดพอ ส่วนที่เหลือให้ทำการเก็บไว้ที่ Hardware Wallet ของเรา เพื่อที่จะการันตีได้แบบสบายใจว่า จะไม่สูญหายอย่างแน่นอน เพียงเท่านี้คริปโตที่เราหามาเหนื่อยยากก็จะอยู่กับเราได้อย่างปลอดภัยแล้ว

บทความจาก siamblockchain

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น